หลายคนอาจเคยเจอปัญหาที่ว่าท่อง Tense มาเป๊ะ จำหลักไวยากรณ์แม่นมาก แต่เมื่อถึงเวลาพูดกับฝรั่งจริงๆ แล้วทำไมไปไม่เป็น หรือนึกโครงสร้างประโยคที่ต้องใช้ไม่ออก หรือน้องๆ บางคนอยากที่จะสื่อสารภาษาอังกฤษแต่ยังขาดความมั่นใจและความกล้าที่จะแสดงออก จึงขอนำเทคนิคมาฝากกันสำหรับคนที่อยากเก่งภาษาและอยากมีความกล้าจะที่พูดหรือสื่อสารภาษาอังกฤษแบบไม่ต้องใช้ตำราใดๆ ตามมาดู 3 ขั้นตอนง่ายๆ ที่จะทำให้น้องๆ เก่งภาษากันเลย.. Step 1 : ปรับทัศนคติ (mindset) ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีคนจำนวนมากที่ทำให้หมดกำลังใจในการฝึกพูดภาษาอังกฤษ คนเหล่านั้นมักมองว่าคนที่พูดชัดสำเนียงดีนั้นคือคนชอบโชว์พาว ส่วนคนที่พยายามพูดให้ชัดมักถูกมองว่าเวอร์ และคนที่พูดภาษาอังกฤษไม่ชัดคือคนที่อ่อนภาษา.. หลายคนคงเคยอยู่ในสภาวะที่แวดล้อมไปด้วยคนที่มีทัศนคติแบบนี้ ทำให้เราอายไม่อยากพูดภาษาอังกฤษ ทั้งๆ ที่เราคิดว่าเราทำได้ดี แต่กลายเป็นว่าตัวเราเองทำให้คนเหล่านี้มากดดันเราได้ จริงอยู่ที่เราไม่สามารถเปลี่ยนความคิดคนเหล่านี้ได้ แต่เราเปลี่ยนความคิดของเราได้ด้วยการคิดว่า “เธอจะคิดอะไรก็คิดไป แต่ซักวันฉันจะเก่งภาษาอังกฤษกว่าเธอ” หยุดคิดว่าตัวเองทำไม่ได้!! นักลงทุนและผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จทุกคนบอกเหมือนกันว่า “ถ้าจะเริ่มลงทุนลงแรงกับอะไรซักอย่าง อย่ารอจนกว่าจะพร้อม ให้เริ่มทำตอนที่ยังไม่พร้อม” การที่เราเริ่มฝึกทักษะการฟังจากอินเตอร์เน็ต หรือการเปิดยูทูปถือว่าช่วยได้มาก ถึงแม้ในระยะเริ่มต้นผู้ฟังอาจฟังไม่ออก จับประเด็นสำคัญของผู้พูดไม่ได้ หรืออาจแปลความหมาย จับต้นชนปลายไม่ถูก แต่ขอแนะนำให้ลองฟังไปก่อนโดยที่ไม่ต้องรู้ความหมาย ให้หูของเราเกิดความคุ้นชินและเกิดการปรับตัว ที่สำคัญคือเลิกคิดว่าตัวเองทำไม่ได้หากยังไม่ได้ลองทำก่อน จำไว้ว่าไม่จำเป็นต้องฝึกเหมือนคนอื่น หลายคนอาจเคยถามหรือถามคนอื่นกันอยู่แล้วว่า ฝึกภาษากันยังไง เรียนเพิ่มเติมที่ไหน คนเรามีความสามารถในการรับรู้ต่างกัน และมีความถนัดต่างกัน เวลาของแต่ละคนมีไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นต้องลองวิเคราะห์ดูว่าเราเหมาะที่จะฝึกแบบไหนมากกว่า เช่น หากใครชอบฟังเพลง อาจจะหาเพลงสากลที่ชอบมาเปิดเนื้อเพลงดูตามไปด้วย ซึ่งนอกจากจะได้รู้ความหมาย ได้คำศัพท์จากบทเพลงแล้ว ยังทำให้เราเข้าถึงความหมายเพลงได้ดีกว่าเดิมด้วย สรุปสิ่งที่ควรและไม่ควรทำเพื่อที่จะเก่งภาษาอังกฤษ.. DOs -กล้าที่จะพูด -อย่ากลัวที่จะถาม -มองในแง่ดี คนที่เก่งภาษาทุกคนเริ่มต้นจาก 0 DON’Ts -คิดว่าตัวเองอ่อน ไม่มีพรสวรรค์ -คิดว่าทำไม่ได้หรอก ยากเกินไป แค่ภาษาไทยยังไม่รอด -ไม่กล้าพูด กลัวคนรอบข้างหาว่ากระแดะ Step 2 : เตรียมเครื่องมือการฝึก สิ่งที่คุณต้องมี.. - Internet - คอมพิวเตอร์ / มือถือ - Google account - Google Dictionary Chrome Extension แน่นอนว่าเครื่องมือการฝึกในสองข้อแรกทุกคนต้องมีกันอยู่แล้ว สำรหรับ Google accountก็มีให้สมัครฟรี และสำหรับ Google Dictionary Chrome Extension ก็สมัครใช้ฟรีเพียงแค่มี Chrome เท่านั้น การฝึกภาษาที่ดีควรมีการจดบันทึก ดังนั้นเทคนิคในการจดคำศัพท์ที่น่าสนใจคือจะต้องจดได้ทุกที่ สามารถเปิดออกดูได้ทุกที่ทุกเวลา และต้องใช้งานง่าย การที่เราต้องพกสมุดกับปากกาไปทุกที่คงเกิดความไม่สะดวก การค้นหาคำศัพท์ที่เคยเจอแล้วก็ยากเพราะฉะนั้นเราจึงใช้งานจากสิ่งที่เราพกไปทุกที่นั้นคือ โทรศัพท์มือถือด้วยการใช้ google doc แทนสมุดปากกาต่อไปนี้คือตัวอย่างสมุดจดศัพท์ส่วนตัวของเจ้าของบทความ Docs ใน Google เป็นสมุดจดคำศัพท์ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือที่ดีมากๆใช้งานฟรี สามารถเก็บไว้ใช้ส่วนตัวหรือแชร์ให้คนอื่นด้วยก็ได้แต่คนส่วนมากไม่ทราบกัน วิธีการใช้งานตัวนี้คือเข้าไปใน Docs.google.com สำหรับคนที่มี Google account แล้วสามารถ loginได้เลย ส่วนคนที่ยังไม่มีให้สมัครก่อน เมื่อเข้าไปแล้ว ให้เราคลิก Create เลือก Spreadsheetจากนั้นเราจะมาสร้าง File คล้าย Excel เอาไว้จดคำศัพท์กัน เสร็จแล้วเราก็จะได้ File ที่เหมือนกับ Excelมา 1 Fileให้เราทำเป็น 3 Column คือ Word Example และ Translation (อย่าลืมเปลี่ยนชื่อ file นะคะ เป็นชื่ออะไรก็ได้) ถ้ามองไปด้านล่างจะเห็น Tab ที่เรียกว่า Sheet 1 อยู่ ให้เราคลิกแล้วเลือก Duplicate เพื่อก๊อบหน้านี้ให้มีอีก 6 หน้าใน File เดียว เราจะเอา Tab พวกนี้ใช้ในการแยกจดศัพท์ตาม Alphabet เมื่อได้เป็น 6 Tab แล้วให้ DoubleClick เพื่อเปลี่ยนชื่อ Tab ตามรูปค่ะ สังเกตุได้ว่า Tab สุดท้ายชื่อว่า InterestingSentences เอาไว้จดประโยคที่น่าสนใจ ให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบ excelเปลี่ยนจาก Column เป็น Sentence กับ Translation เพียงแค่นี้เราก็ได้สมุดจดที่เราใช้จด หรือเปิดดูที่ไหนก็ได้แล้วค่ะ (สำหรับการ saveให้กด ctrl + s ) เมื่อมีสมุดจดศัพท์แล้วควรตั้งกฏสำหรับการใช้งานด้วย 1. จด “ทุกครั้ง” ที่เจอศัพท์แปลกๆและน่าสนใจ … 2. หาตัวอย่างของการใช้งานมาด้วย …ช่อง Example สำคัญมากบางคนไม่ให้ความสนใจ คิดว่าจำศัพท์อย่างเดียวพอแต่ความจริงคือสมองคนเราจะจำได้แม่นถ้าเราจำผ่านความเข้าใจค่ะตัวอย่างของการใช้งานจะทำให้เราเข้าใจรูปแบบการใช้ สมมติไปเจอคำว่า Screw แต่จดแค่คำแปลซึ่งแปลว่าสลักเกลียว (หรือสกรูถ้าเรียกทับศัพท์) แต่จริงๆแล้ว screw เป็นคำด่าก็ได้เช่นกัน ถ้าเรามาเปิดอีกทีโดยไม่มีตัวอย่างเราอาจจะจำคำแปลได้แบบเดียว ส่วนอีกแบบหนึ่งลืมไปแล้วว่ามีความหมายหรือใช้งานยังไง 3. เวลาไปเจอคำศัพท์เดิมที่ผ่านตามาแต่จำไม่ได้ให้เปิดดูทุกครั้ง “ทันที” หลายครั้งที่เราเจอคำศัพท์แล้วรู้ว่าเคยเจอแต่จำคำแปลไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องปกติแต่อย่าปล่อยให้ตัวเองลืมคำแปลแบบนั้นต่อไป ให้เปิดดู docs ที่เราสร้างขึ้นมาทันทีพร้อมทบทวนตัวอย่างจะทำให้เราจดจำได้ดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ **ทุกข้อที่ว่ามา มีข้อแม้นิดเดียวว่าต้องทำ “ทันที” เพื่อทำให้เราจำได้ดีขึ้น** ที่มา http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9580000060262 |
ยินดีต้อนรับสู่ KhonThai America : คนไทยในอเมริกา (http://khonthaiamerica.com/) | Powered by Discuz! X2.5 |