ศัพท์ที่แปลว่าต้องการ นอกจาก want หรือ need แล้วยังมีหลายคำ เช่น crave for , long for , yearn for , die for , desire แต่ละตัวจำยากทั้งนั้น เอาง่าย ๆ ให้ท่องว่า
crave , yearn , long , die แปลว่า desire ...แต่ต้องใช้กับ for
ส่วน gift เป็นคำนาม ที่เคยรู้แปลว่าของขวัญ แต่อีกความหมายหนึ่งก็คือพรสวรรค์ ถือเป็นของขวัญจากพระเจ้า ดังนั้นพรสวรรค์จึงเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตัวเอง พอเอามาใช้เป็น verb จึงต้องอยู่ในรูปของ passive voice คือ verb to be + v3 แล้วตามด้วย by แต่ในประโยคละคำว่า by god ไว้ แต่ใช้ gifted with หมายถึงสิ่งที่ได้มา ในที่นี้ก็คือ potential-ศักยภาพ แบบ infinite-ไม่มีขอบเขตจำกัด ( คำนามของมันคือ infinity ที่เราเจอในวิชาคณิตศาสตร์ หมายถึงจำนวนที่นับไม่ถ้วน ไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง)
ท่องประโยคเดียว คุ้มมม...
5.จัดหมวดหมู่คำตามรากศัพท์ (root)
เช่น จากรากศัพท์คำว่า tain แปลว่า keep หรือเก็บรักษา ก็ได้คำว่า...
retain -เก็บรักษา เช่น Retain the ticket when you enter the concert.
maintain -บำรุงรักษาให้คงไว้ เช่น A car must be maintained.
contain -บรรจุ เช่น This jug contains milk.
detain -เก็บกัก กักขัง เช่น Teacher detained two students for punishment.
ลองเริ่มต้นจากสิ่งที่เราสนใจก่อนก็ได้ค่ะ คงไม่มีใครไม่ชอบดูหนังฟังเพลงใช่ไหมคะ การเรียนรู้ศัพท์จากเพลงและหนังมีข้อดีคือ ทำให้เราชินกับภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันไปโดยอัตโนมัติ เช่น ใครที่ได้ดูหนังรักโรแมนติกบ่อย ๆ ก็คงจะคุ้นกับประโยคที่ว่า Would you marry me แบบนี้ไม่ต้องท่องเลยค่ะว่า marry ห้ามตามด้วย preposition แต่ให้ตามด้วย marry someone เสมอ
หรือคำว่า get along ที่ท่องกันแทบตายว่าเข้ากันได้ดี หรือดำเนินต่อไปได้ด้วยดี เช่น I get along with my boss. I get along with life เราก็อาจจะได้จากเพลงของ pet shop boy ที่ร้องว่า I get along without you คือถึงเธอจะทิ้งฉัน ฉันก็ยังดำเนินชิวิตต่อไปได้
นอกจากนี้ในหนังหรือเพลงก็ยังมีสแลงแปลก ๆ ที่ไม่มีในดิกชันนารีด้วย เช่น gotta (มาจาก have got to แปลว่า ต้อง) gonna (be going to แปลว่า จะ) kinda (kind of แปลว่า ค่อนข้างจะ) wanna (want to) ain't (isn't หรือ aren't)
ภาษาเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่บ่งบอกวัฒนธรรมและ lifestyle การดำเนินชีวิตของเจ้าของภาษาด้วยค่ะ จำไว้ว่าภาษาอังกฤษคือการเรียนรู้ตลอดชีวิต (life long leanning) ไม่ใช่แค่เฉพาะในตำราเท่านั้น เพราะต่อให้เรียนไวยากรณ์หรือท่องศัพท์แทบตาย แต่ถ้าไม่ได้ทำให้ภาษาอังกฤษ “อิน” เข้ากับชีวิตของเราจริง ๆ ก็เท่ากับเรายังไม่สามารถเข้าใจมันอย่างถ่องแท้หรือนำไปใช้ได้
ที่สำคัญ อย่ากลัวที่จะผิดค่ะ กระบวนการเรียนรู้ต้องอาศัยการลองผิดลองถูก (trial and error)
เราต้องกล้าที่จะผิดในครั้งแรก ๆ ก่อน เพราะ we learn from mistakes ค่ะ เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ทำการทดลองนั่นแหละ แรก ๆ อาจจะผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่พอหลายครั้งผ่านไป เราก็จะได้มันเป็นบทเรียน