แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ice999 เมื่อ 2018-6-20 14:04
หลายๆ คนอาจจะอยากรู้ว่าความแตกต่างระหว่างระบบการเรียนของมหาวิทยาลัยในอังกฤษหรืออเมริกาเป็นแบบไหน และที่ไหนจะดีกว่ากัน วันนี้จึงมาเขียนถึงความแตกต่างระหว่างการเรียนในอังกฤษและอเมริกาให้อ่านกันค่ะ เอาไว้เพื่อประกอบการตัดสินใจนะคะ
StockSnap/pixabay.com
ระยะเวลาในการเรียน
อังกฤษ: ปริญญาตรี 3 ปี
ปริญญาโท 1 ปี
ปริญญาเอก 3 ปี
อเมริกา: ปริญญาตรี 4 ปี
ปริญญาโท 2 ปี
ปริญญาเอก 5-7 ปี หรือมากกว่า
ถึงแม้ว่าที่อังกฤษจะเรียนปริญญาตรี 3 ปี แต่ในระดับมัธยม จะต้องเรียนถึงเกรด 13 แต่ในไทยและอเมริกาเรียนแค่ 12 ปี หรือเกรด 12 เท่านั้น ในปีเกรด 13 ของเด็กอังกฤษ จะเป็นปีที่เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย สุดท้ายแล้วก็เหมือนเรียนเท่าๆ กัน ส่วนใครที่อยากเรียน ป.โท แค่ 1 ปี แนะนำเรียนที่อังกฤษจะจบไวกว่าค่ะ เพราะเรียน ป.โท ที่อเมริกาจะใช้เวลา 2 ปี
แต่หากใครจะเรียนต่อ ป.เอกด้วย ที่อเมริกาสามารถข้าม ป.โท ไปเรียน ป.เอก ได้เลย คือจาก ป.ตรี ไป ป. เอก (เกรดเฉลี่ย ป.ตรีต้อง 3.80-4.00 และโปรไฟล์ดีมาก) ส่วนที่อังกฤษ จะต้องเรียน ป.ตรี ป.โท ป.เอก ไม่สามารถข้ามได้ค่ะ
coyot/pixabay.com
การเปิดภาคเรียน
อังกฤษ: จะมี 3 เทอม เปิดภาคเรียนประมาณ ก.ย., ต.ค และ ปิดภาคเรียนทั้งหมดประมาณ พ.ค.,มิ.ย. (สอบไฟนอลครั้งเดียว)
อเมริกา: จะมี 2 เทอม เปิดภาคเรียนประมาณ ส.ค. ปิดภาคเรียน ธ.ค. และเทอม 2 เปิดภาคเรียน ม.ค. ปิดภาคเรียน พ.ค.
StockSnap/pixabay.com
ระบบมหาวิทยาลัย
อังกฤษ: ที่อังกฤษจะเรียกคณะว่า College ส่วนใหญ่ ทุกมหาวิทยาลัยจะมี College แยกออกไป (เหมือนกับไทยที่แยกเป็นคณะ) ชีวิตนักศึกษาจะอยู่แต่ใน College ตัวเอง เพราะแต่ละ College จะบริหารกันเอง ทำให้นักศึกษาส่วนใหญ่คุ้นหน้ากันเป็นอย่างดี เราสามารถสมัครเรียนกับ College สาขาที่เราอยากเรียนได้โดยตรง หรือถ้าจะนำคะแนนไปยื่นผ่านระบบ UCAS ก็สามารถทำได้ และยังสามารถเลือกได้หลายที่ (คล้ายไทย) ส่วนวิชาเรียน นักศึกษาจะต้องเตรียมการเรียนเอง จะไม่มีบอกว่าคลาสหน้าเรียนวิชานี้นะ
อเมริกา: ในช่วง 2 ปีแรก จะต้องเรียนรวมๆ ก่อน เหมือนวิชาศึกษาทั่วไป เช่น ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาตร์ และอื่นๆ แล้วจึงไปเลือกสาขาที่ชอบทีหลัง ซึ่งแบบนี้จะทำให้เรารู้ว่า เราชอบอะไร อยากเรียนต่อในด้านไหน ที่อเมริกาจะเรียกคณะว่า School เราจะได้เรียนใน School จริงๆ ก็ตอนปี 3 และหากเลือกเรียน School ที่ชอบแล้ว ก็ยังไปเรียนวิชาเลือกอื่นๆ ต่างคณะได้ เรียกได้ว่า มีความยืดหยุ่นกว่าอังกษที่ต้องเรียนเฉพาะ College ของตัวเอง ส่วนวิชาเรียน จะมีบอกล่วงหน้าว่าในแต่ละวันจะเรียนวิชาอะไร นักศึกษาก็จะได้อ่านมาก่อนเข้าเรียน
หมายเหตุ: เพราะอังกฤษเรียน ป.ตรี แค่ 3 ปี จึงต้องเน้นรีบเรียนวิชาหลักๆ ของ College ส่วนอเมริกาเรียน 4 ปี จึงยืดหยุ่นกว่าในการเลือกลงเรียนต่าง School
StockSnap/pixabay.com
การบ้านและเกรด
อังกฤษ: การบ้าน รายงาน แบบฝึกหัดของมหาวิทยาลัยจะได้คะแนนไม่เยอะนัก เรียกได้ว่าเป็นแค่คะแนนเสริม และไม่มีการสอบย่อย สอบเก็บคะแนนต่างๆ แต่จะสอบไฟนอลแค่ครั้งเดียวของ 1 ปีการศึกษาเท่านั้น คะแนนตัดเกรดจึงมาจากการสอบไฟนอล นักศึกษาจึงตั้งหน้าตั้งตาอ่านหนังสือกันเยอะมากค่ะ เพราะสอบแค่ครั้งเดียว วัดชะตาชีวิตได้เลย ><
อเมริกา: คล้ายไทย คือ จะมีการเก็บคะแนนบ่อยครั้ง ทั้งคะแนนจากชิ้นงาน สอบย่อย สอบมิดเทอม สอบไฟนอล ส่วนให้เกรด ก็แล้วแต่ละที่ว่าจะให้เกรดยังไง
maura24/pixabay.com
ค่าใช้จ่ายในการเรียน
อังกฤษ: ค่าเล่าเรียนเริ่มที่ £9000 ต่อปี แต่ราคานี้คือราคาของชาวยุโรปนะคะ ส่วนนักศึกษาต่างชาติเริ่มที่ £12,000 ต่อปี แต่จะมีส่วนลดค่าเล่าเรียนโดยการสมัครทุนการศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัย
อเมริกา: ส่วนใหญ่ค่าเล่าเรียนจะแพงกว่าฝั่งอังกฤษ แต่ก็แล้วแต่ค่าเรียนของแต่ละมหาวิทยาลัยด้วย มหาวิทยาลัยรัฐบาลเริ่มประมาณ $3,000 ต่อปี แต่มหาวิทยาลัยเอกชนประมาณ $29,000 ต่อปี แต่บางมหาวิทยาลัยก็ประมาณ $50,000 ต่อปี ดังนั้นหลายมหาวิทยาลัยก็จะมีทุนให้นักศึกษาเสมอ
Chantellen /pixabay.com
หอพัก
อังกฤษ: ส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยจะมีห้องส่วนตัวและอยู่คนเดียวไม่มีรูมเมท มีคนทำความสะอาดให้ (แต่ต้องจ่ายเพิ่ม) มีห้องครัวรวมสำหรับทำอาหารกินได้
อเมริกา: ปีแรกต้องแชร์ห้องอยู่กับรูมเมท พอขึ้นปี 2 ก็สามารถไปอยู่ข้างนอกได้ ส่วนเรื่องอาหารการกิน ต้องหากินเองค่ะ ช่วยเหลือตัวเองตามสไตล์อเมริกัน ^^
University of Kent
สรุปว่า ระบบการศึกษาทั้งสองประเทศนั้น มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะชอบแบบไหนนะคะ ส่วนใครที่สนใจเรียนที่ อเมริกาและอังกฤษ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ อีเมล enroll@khonthaiamerica.com หรือทาง Inbox https://www.facebook.com/KhonThaiAmerica ทางเรามีเจ้าหน้าที่ดูแลนักเรียนอยู่ตามเมืองต่างๆ
โดย Ice : KhonThaiAmerica
ที่มา
https://www.internationalstudent ... a-education-system/
|