1. ฝึกทำข้อสอบReading เยอะๆ ความสำเร็จต่างๆ ล้วนมาจากความพยายามและขยันหมั่นเพียรค่ะถ้าไม่ทำเลยก็จะไม่ได้คะแนนอย่างที่หวัง ฉะนั้นหนทางสู่การได้คะแนนพาร์ท Readingเยอะๆ ก็คือต้องทำแบบฝึกหัดเยอะๆ ค่ะจริงอยู่ที่การอ่านหนังสือภาษาอังกฤษเป็นประจำช่วยให้เราอ่านข้อสอบภาษาอังกฤษได้เร็วขึ้นแต่การทำข้อสอบต่างจากการอ่านนิยายนะคะ เวลาอ่านนิยายเราอ่านบทน่าเบื่อแบบผ่านๆได้ หรือมองข้ามท่อนบรรยายสถานที่ไปบ้าง อ่านแบบเอาสนุกลุ้นระทึกตามตัวละครแต่เวลาทำข้อสอบ Reading เราต้องอ่านแบบทำความเข้าใจว่าย่อหน้านี้พูดเรื่องอะไรข้อมูลสำคัญคืออะไร ตัวอย่างมีอะไรบ้าง คำนี้ตรงนี้หมายถึงอะไรเพราะข้อสอบสามารถถามได้ทุกจุด ดังนั้นจึงควรฝึกทำแบบฝึกหัดจากข้อสอบเก่าด้วยค่ะ
2. หาให้ได้ว่าเราถนัดอ่านบทความหรืออ่านคำถามก่อน
หลายคนแนะนำว่าให้อ่านคำถามก่อนแล้วค่อยมาดูบทความจะได้หาคำตอบเจอได้รวดเร็วและรู้เรื่องคร่าวๆ แล้วว่าบทความน่าจะพูดถึงอะไรวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีค่ะ ดีสำหรับตัวพี่เองด้วย แต่ไม่ใช่วิธีที่ดีสำหรับทุกคนเพื่อนพี่หลายคนทำวิธีนี้แล้วไม่เวิร์ก กลายเป็นว่าเสียเวลาอ่านมากขึ้นกว่าเดิมอีกฉะนั้นตอนฝึกทำข้อสอบ Reading น้องต้องลองหาวิธีที่เหมาะสมกับตัวเองนะคะว่าทำแบบไหนเร็วกว่ากันจะอ่านโจทย์ก่อนอ่านบทความ อ่านบทความก่อนอ่านโจทย์ หรือจะ skimming ก่อนอ่านโจทย์แล้วค่อยกลับมา scanning อีกทีทดลองไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบวิธีที่ดีที่สุดสำหรับเราแล้วเวลาสอบจริงก็ใช้วิธีของเรานี่แหละในการทำ
3. ฝึกแบบแข่งขันกับเวลา
ถ้าฝึกแบบทำไปเรื่อยๆ เราก็จะไม่ได้ท้าทายตัวเองและไม่ได้เตรียมตัวไปรับมือกับการสอบ ฉะนั้นตอนฝึกต้องจับเวลาเท่าของจริงด้วยนะคะถ้าข้อสอบที่เราจะไปสอบให้เวลา 1 ชั่วโมงในการทำโดยมีบทความให้อ่าน5 เรื่อง มีโจทย์ทั้งหมด 40 ข้อเราก็ต้องหาแบบฝึกหัดมาให้ได้จำนวนเท่านั้นและจับเวลา 1 ชั่วโมงเท่ากันค่ะจะได้ฝึกบริหารเวลาไปในตัว รู้ว่าตอนไหนควรข้ามข้อยากไปก่อนแล้วค่อยกลับมาหรือจะฝึกทำแบบให้มีเวลาเหลือเพื่อตรวจทานอีกทีก็ได้ บางคนอาจจะแบ่งเลยว่าใน 1ชั่วโมงนั้น ต้องทำบทความ 3 เรื่องแรกที่สั้นๆง่ายๆ บทความละ 9 นาที ส่วนอีก 2 บทความที่ยาวและมีคำถามเยอะกว่าจะใช้เวลาบทความละ14 นาที ส่วนที่เหลืออีก 5 นาทีเอาไว้เผื่อเหลือเผื่อขาด
4. ไวยากรณ์อย่าทิ้ง
จริงอยู่ที่เราไม่ต้องแต่งประโยคในการตอบ Reading แต่ไวยากรณ์ก็มีส่วนช่วยให้เราทำข้อสอบ Reading ได้ค่ะเกิดเจอโจทย์ถามว่าคำที่ขีดเส้นใต้ในบทความมีความหมายเหมือนคำว่าอะไรถ้าเราไม่รู้คำแปลแต่ดูไวยากรณ์แล้วรู้ว่าตำแหน่งตรงนั้นเป็น ADJ ที่ใช้ขยายคนอยู่ เราก็อาจตัดช้อยส์ได้แล้วหรือเราแปลศัพท์ในประโยคนึงไม่ออกหลายคำมากเลย แต่รู้ว่าประโยคนี้มีเทนส์ PastSimple กับ Past Perfect อย่างน้อยมันก็ทำให้เรารู้ว่าPast Perfect ต้องเกิดก่อนและช่วยให้เราเข้าใจลำดับของเรื่องได้ดีขึ้น
5. คำศัพท์ก็อย่าทิ้งเช่นกัน(แต่ไม่ต้องรู้ทุกคำบนโลก)
ถึงตรงนี้้น้องคงเริ่มรู้สึกแล้วว่าตกลงพี่จะต้องให้หนูเก่งครบทุกด้านใช่มั้ยถึงจะทำข้อสอบReading ได้คะแนนดีอันที่จริงมันก็ถูกนะคะเพราะถ้าเก่งทุกด้านยังไงก็ต้องทำคะแนนได้สูงแน่ๆ 555ไม่ใช่ค่ะ พี่จะแนะนำว่าศัพท์เป็นสิ่งที่ไม่ควรทิ้งก็จริงแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าน้องต้องกินพจนานุกรมเข้าไปถึงจะทำได้คำศัพท์ในภาษาอังกฤษมีเยอะมากกกกกกกกก ข้อสอบจะเลือกคำไหนในโลกมาก็ได้เราไม่มีทางท่องได้ครบทุกคำแน่ๆ เจ้าของภาษาเองยังไม่รู้จักทุกคำในภาษาตัวเองเลยดังนั้นน้องต้องหาศัพท์ที่ควรรู้สำหรับข้อสอบของน้องค่ะ จะหาจากหนังสือหรือเว็บไซต์ติวข้อสอบก็ได้มักจะมาเป็น "500 ศัพท์ควรรู้ในการสอบ IELTS"ประมาณนี้
นอกจากศัพท์ที่ควรรู้แล้วอีกเรื่องที่ควรรู้คือพวกรากศัพท์ prefix และ suffix ต่างๆ ค่ะถ้าไม่อยากท่องศัพท์แบบหว่านแห หรือเวลาเตรียมตัวสอบเหลือน้อยแล้วการเจาะเฉพาะศัพท์ที่ควรรู้สำหรับการสอบนั้นๆ และจำพวกรากศัพท์ไปจะช่วยให้น้องรับมือกับศัพท์ในบทความได้เยอะเลย (แต่ถ้ามีเวลาว่างเยอะจะอ่านเยอะกว่านี้ก็ได้นะคะ)
6. ใช้ดินสอหรือปากกาชี้ขณะอ่านไปด้วย
เวลาอ่านนิยายเราสามารถอ่านได้สบายๆโดยไม่ต้องลากนิ้วตามทีละคำเพราะมันไม่ต้องใช้ความพยายามเยอะแต่เวลาทำข้อสอบนั้นเราต้องการสมาธิขั้นสุดฉะนั้นการอ่านโดยลากนิ้วไปด้วยจะทำให้เราไม่หลุดจากสิ่งที่อ่านอยู่ค่ะและช่วยลดการวนอ่านบรรทัดเดิม 10 รอบโดยไม่เข้าใจลงไปด้วยถ้าข้อสอบบอกว่าให้ขีดเขียนในกระดาษคำถามได้ก็ให้ใช้ดินสอหรือปากกาชี้ตามบรรทัดที่อ่านแทนนิ้วมือเพื่อที่พอเจอจุดที่ต้องขีดต้องวงจะได้ทำได้เลยโดยไม่ต้องยกแขนออกมาจับปากกาอีกครั้งค่ะ(จะเป็นดินสอหรือปากกานั้นขึ้นอยู่กับว่าต้องใช้อะไรในกระดาษคำตอบ ถ้าฝนก็ดินสอถ้ากาก็ปากกา เลือกใช้ชิ้นนั้นในการขีดบทความเลย)วิธีนี้พี่ลองกับตัวและคิดว่าได้ผลสำหรับพี่ค่ะ เพราะพี่เป็นคนเบื่อง่าย ถ้าอ่านๆไปแล้วเริ่มเบื่อพี่ก็จะกวาดตาอ่านอยู่บรรทัดเดิมซ้ำๆ โดยไม่มีอะไรเข้าหัวเลยแต่พอเลื่อนดินสอตามไปด้วยแล้วมันทำให้พี่มีสมาธิกับแต่ละคำได้มากขึ้นแถมขีดคีย์เวิร์ดได้เลยด้วย
7. เวลาข้ามข้อไหนไปให้ทดไว้ด้วยว่าลังเลช้อยส์ไหน
เวลาเจอข้อที่ลังเลระหว่าง 2 ช้อยส์แล้วอยากข้ามไปทำข้ออื่นก่อนให้เอาดินสอวงช้อยส์ที่เราลังเลไว้บางๆ ด้วยถ้ามั่นใจช้อยส์ไหนมากกว่าอีกอันก็ติ๊กไว้ 2 เส้น เผื่อสุดท้ายเราไม่เหลือเวลากลับมาคิดข้อนี้ใหม่แบบละเอียดๆหรือกลับมาอ่านบทความนี้ใหม่แต่แรกไม่ทันเราจะได้เลือกข้อที่ลังเลนั่นแหละไปเลยซักข้อนึง ถ้าไม่ติ๊กไว้แล้วล่ะก็พอวนกลับมาใหม่ก็อาจลืมแล้วว่าตอนนั้นคิดอะไรอยู่
8. ฝึกสมาธิให้ดี
เวลาสอบจริงเราอาจรู้สึกกดดันจนรวบรวมสมาธิไม่ได้ดังนั้นการฝึกสมาธิมาก่อนจะช่วยให้เรารับมือกับสถานการณ์นี้ได้ดีขึ้นค่ะถ้ารู้สึกว่าการฝึกนั่งสมาธิจริงจังมันยากเกินไปเอาแค่ฝึกระเบียบความคิดให้คิดถึงแค่สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็พอค่ะ ตัดทุกอย่างให้หมดอย่าไปพะวงว่าเพื่อนกดไลค์รึยัง แฟนไลน์มาแล้วรึเปล่า หรือว่าเดี๋ยวจะกินอะไรดีนอกจากนี้ในวันสอบจริงอาจเจอการรบกวนจากสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้เช่นคนข้างๆเท้าเหม็นมาก หรือคนข้างหน้าเคาะปากกาตลอดเวลาในการทำข้อสอบฉะนั้นเราอาจต้องฝึกทำข้อสอบในห้องที่ไม่เงียบสนิทด้วย
9. อย่ายึดติดกับสิ่งที่ไม่รู้ในข้อสอบ
ไม่รู้ก็คือไม่รู้ค่ะอย่าย่ำอยู่กับตรงนั้นเพราะเราจะเสียเวลาไปเยอะเลยไม่ว่าจะในตัวบทความหรือในส่วนของข้อสอบถ้าแปลไม่ออกก็อย่าพาลรู้สึกไปว่าเราต้องไม่รู้เรื่องทั้งบทความแน่ๆให้มองข้ามมันไปแล้วมองหาสิ่งที่เรารู้ เอาทุกอย่างที่เรารู้มาพยายามโยงเข้าหากันให้เป็นเรื่องตอนสอบ TOEFL พี่ก็แปลไม่ออกหลายคำเหมือนกันเรียกได้ว่าไม่มีบทความไหนในข้อสอบเลยที่พี่แปลออกหมดทุกคำแต่ส่วนที่รู้ก็ทำให้รู้เรื่องได้แล้วว่าบทความนี้พูดถึงอะไร ผู้เขียนต้องการอะไรและมีอารมณ์ไปในโทนไหน แถมสิ่งที่รู้ยังช่วยให้เดาได้ด้วยว่าคำที่ไม่รู้น่าจะมีความหมายบวกหรือลบประมาณไหนฉะนั้นอย่าไปรู้สึกว่าตัวเองโง่จังแปลไม่ออกเลยเพราะมันต้องมีบ้างแหละที่เรารู้เรื่องน่ะ
10. ฝึกเดาความหมายศัพท์
โดยส่วนตัวพี่เป็นคนท่องศัพท์ไม่ได้ ถ้าศัพท์ไหนพยายามท่องพี่จะลืมตลอดเวลาและต้องเปิดพจนานุกรมทุกครั้งที่เจอคำนั้น และพี่ก็คิดว่าหลายคนน่าจะเป็นเหมือนกัน555 พี่เลยอยากแนะนำการจำศัพท์โดยการเดาศัพท์ค่ะนั่นก็คือเวลาฝึกทำข้อสอบที่บ้านอย่าเปิดพจนานุกรมดูคำแปลของทุกคำที่ไม่รู้แต่ให้ลองเดาความหมายคำนั้นจากบริบทรอบๆ ค่ะสุดท้ายแล้วเราอาจไม่ได้รู้คำภาษาไทยเป๊ะๆ ของคำนั้นแต่เราจะรู้จักคำนั้นแบบเป็นภาษาอังกฤษแทนไปเลยรู้ว่ามันมีความหมายประมาณไหนและสื่ออะไร แต่ถ้าสุดท้ายแล้วไม่มั่นใจจริงๆค่อยเปิดพจนานุกรมเช็คอีกทีค่ะ มาลองดูการเดากัน Bodies with like electrical charges repel each other, and those with unlike charges attract each other. (ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น 2554)
1. replicate 2. repulse 3. repay 4. restore |
แปลแบบไม่ต้องรู้ทุกคำก็จะได้ว่า อะไรที่มี charges เหมือนกัน (like)มัน repel กันและกัน ส่วนอันที่ chargesไม่เหมือนกัน (unlike) มัน attract ซึ่งกันและกัน
แสดงว่า repel กับ attractต้องตรงข้ามกันเหมือน like กับ unlike แต่เรารู้แล้วว่า attract มันเป็นญาติกับ attractive,attraction เป็นอะไรที่มีเสน่ห์น่าสนใจน่าดึงดูดเลยทำให้เดาว่า attractคือดึงดูด ฉะนั้นคำตรงข้ามก็ต้องเป็นไม่ดูดกันหรือผลักกันนั่นเองทีนี้ก็มาเดาศัพท์ในช้อยส์
1. replicate ต้องเป็นญาติกับ duplicate(ทำซ้ำ) แล้วก็ replica (แบบจำลอง)
2. repulse คำนี้ไม่รู้จักเลย
3. repay re แปลว่า back/again ส่วน pay คือจ่าย น่าจะแปลว่าจ่ายเงินคืน
4. restore ซ่อมแซมฟื้นฟู คำนี้รู้จักเจอในเกมบ่อย
ด้วยการเดาศัพท์ในช้อยส์ 1, 3 และ 4 ออก และรู้สึกว่ามันไม่ใช่ความหมายตรงข้ามของ attractเลยซักคำ ทำให้ควรเลือกช้อยส์ 2 ที่แปลไม่ออก(และข้อนี้ตอบ 2 ถูกค่า แปลว่าขับไล่) จะเห็นว่าสุดท้ายก็ไม่รู้อยู่ดีว่า repel กับ repulse แปลว่าอะไรกันแน่ แต่ก็ได้คะแนนไปแล้ว
ขอบคุณที่มา http://www.dek-d.com/studyabroad/39379/
|