สมัยนี้ ใคร ๆ ก็อยากเรียนต่อปริญญาที่อเมริกา ไม่ว่าจะเป็น ตรี โท เอก เพราะจบมามีโอกาสได้งานทำที่ดี หรืออาจะได้ทำงานที่อเมริกาเลยก็ได้ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ อเมริกามีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูง เป็นที่ยอมรับ มหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลก 8 ใน 10 อันดับแรกก็อยู่ในอเมริกา
การสมัครเรียนเองโดยตรงในระดับปริญญาโทต้องมีอะไรบ้าง?
โดยทั่วๆไป หลักฐานที่ต้องใช้ในการสมัครเรียนต่อระดับโท-เอกมีดังต่อไปนี้
- คะแนน TOEFL 80 คะแนน , คะแนน IELTS 6.5 ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยระดับ Top 10 คะแนน TOEFL ต้องไม่น้อยกว่า 100 คะแนน , IELTS ไม่ต่ำกว่า 7.5
- ใบสมัคร
- ค่าสมัคร
- คะแนน GRE (ถ้าสมัคร MBA ต้องส่งคะแนน GMAT แทนคะแนน GRE)
- จดหมาย Recommendation จากอาจารย์หรือ Supervisors ที่เคยทำงานด้วย จำนวน 3 ฉบับ
- Statement of Purpose หรือบทความเล่าถึงเหตุผลที่เลือกมหาวิทยาลัยและสาขาวิชานี้ (อ่านวิธีการเขียนได้ที่นี่ การเขียน Admission Essay)
- Bank Statement ที่มีตัวเลขวงเงินพอจะจ่ายค่าเล่าเรียนได้
อ่านกระทู้น่าสนใจเพิ่มเติมที่นี่
How To: 5 ขั้นตอนการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย
การเตรียมตัวเพื่อไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยไม่ต้องใช้ทุนรัฐบาล
จะเห็นได้ว่า กว่าจะเข้าไปเรียนได้ ไม่ใช่ง่ายเลย ต้องเตรียมอะไรเยอะแยะไปหมด ยิ่งถ้าต้องการเรียนมหาวิทยาลัยอันดับดีๆ เราก็จะต้องแข่งกับคนอีกหลายๆที่เค้าเก่งๆเช่นกันที่แค่ ข้อกำหนดและคะแนนขั้นต่ำ ไม่ได้ช่วยการันตีว่าเราจะเข้าเรียนได้
หลังจากเข้าไปเรียนได้แล้ว ก็ยังไม่ใช่เรื่องง่ายกว่าจะได้มาซึ่งใบปริญญานั้น หลายคนลงความเห็นว่าเรียนมหาวิทยาลัยที่อเมริกานั้นเหนื่อยมากๆ ยิ่งถ้าเราไม่เคยปรับตัวให้คุ้นชินกับการใช้ชีวิตหรือเตรียมพร้อมด้านภาษา(ที่ขึ้นชื่อว่ายากมาก) เราอาจจะต้องเหนื่อยเป็น 2 เท่าแน่ ๆ ค่ะ ง่ายๆลองนึกภาพว่าตัวเองไปนั่งเรียนในห้องเรียน แล้วทั้งห้องเป็นนักศึกษาชาวอเมริกัน ซึ่งสอนเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ถ้าเรารู้ภาษาอังกฤษในระดับที่แค่ " โอเค " มันคง "ไม่โอเค" แน่นอน
ลองอ่านกระทู้นี้ประกอบนะคะ
ประสบการณ์ของหลายๆคนที่ท้อกับการเรียนต่อระดับปริญญา แต่ก็สู้ต่อจนเรียนจบ จะเห็นได้ว่าบางคนจบมหาวิทยาลัยดัง ด้วยระดับเกียรตินิยม แต่เกิดอะไรขึ้นเมื่อต้องไปเรียนจริงๆ (เครดิต จาก Pantip) การเรียนต่อต่างประเทศ ไม่ใช่เรื่องสนุก หรือดีสำหรับทุกคน
สรุปๆกันดีกว่า
การเรียนระดับปริญญาโทที่อเมริกาเป็นอย่างไร?
- เริ่มแรกเลย อ่านเงื่อนไขการเป็นนักศึกษาให้จบ ถ้าอ่านไม่จบเราจะไม่รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรที่ไม่ควรทำในการเป็นนักศึกษา
- มีงานให้ทำส่งทุกอาทิตย์ เวลาเรียนในห้องก็จะเป็นแบบสนทนากลุ่ม ถ้าไม่อ่านหนังสือก็จะแสดงความคิดเห็นไม่ได้ มีผลต่อคะแนน
- ระดับปริญญาโทที่ประเทศอเมริกานั้น ถือว่าต่างจากการศึกษาในระดับปริญญาตรีค่อนข้างมาก ปริญญาตรีจะเน้นการได้รับความองค์ความรู้จากอาจารย์ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และเรียนรู้เองประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปริญญาโทนั้น จะเน้นการได้รับความรู้จากอาจารย์แค่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และเรียนรู้ด้วยตนเองอีกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
- การศึกษาในระดับปริญญาโทจึงต้องอาศัยวินัยในการเรียนมากพอสมควร ต้องทำการบ้านมาก่อนเข้าเรียน อ่านบทความและหนังสือที่อาจารย์สั่งให้อ่าน และทำการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม อาจารย์จะเป็นเพียงผู้ที่ถ่ายทอดและนำเสนอสิ่งที่มีความสำคัญ บอกเราว่าเนื้อหาอะไรที่เราจะต้องเน้นเป็นพิเศษ
- อาจารย์เข้ามาในห้องจะไม่เท้าความอะไรทั้งสิ้น มาถึงก็ถามเลยว่านักเรียนมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับบทความนั้นๆ
- หนังสือที่ต้องอ่านไม่ได้ใช้ภาษาแบบโทเฟล แต่เป็นศัพท์วิชาการ ภาษาอังกฤษแบบโทเฟลนั้นใช้แค่ตอนสอบเอาคะแนนเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยเท่านั้น ตอนเรียนต้องเจอหนังสือที่ยากมากเป็นเท่าตัว
- เวลาเขียนรายงาน ต้องเขียนตรงตามหลักไวยากรณ์เป้ะๆ นึกภาพตอนเขียนเรียงความภาษาไทยขนาดเป็นภาษาเราเอง เรายังว่ายาก แล้วนี่ต้องมาเขียน Essay เป็นภาษาอังกฤษนี่ยิ่งยากกว่า เพราะขนาดเจ้าของภาษาเองก็ยังไม่ค่อยจะไหวกันเลย
- บางคนอ่านตำราสัปดาห์ละ 15 เล่มเป็นอย่างน้อย เพื่อที่จะได้เรียนทันเพื่อนและเข้าใจในสิ่งอาจารย์สอน หรือพรีเซ้นต์งานหน้าชั้นเรียน พอภาษาไม่ดีอาจารย์หรือเพื่อนฟังเราไม่เข้าใจ แล้วจะได้คะแนนดีๆได้ยังไงถ้าเค้าไม่เข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ เสียเงินมาเรียนต่างประเทศ เกรดออกมาไม่ดี อายเค้าอีก
- ถึงเราจะสอบ IELTS ได้คะแนนดีแค่ไหน พอมาเจอการเขียนแบบวิชาการ เรียนแบบวิชาการ ภาษามันคนละระดับกันเลย ขนาดเรียนภาษาไทยแบบวิชาการยังยาก แล้วภาษาอังกฤษล่ะ? ลอง
- ถ้าสอบได้คะแนนไม่ดี อาจารย์จะถามว่าอ่านหนังสือมารึเปล่า (เชิงตำหนิ) สั้น ๆ ง่าย ๆ แต่อาจจะทำให้เราท้อได้เหมือนกัน
จะเห็นได้ว่า ภาษากับการเรียนระดับมหาวิทยาลัย สำคัญมากขนาดไหน มาดูกันว่าการเรียนภาษาก่อนดียังไง คอร์สสำหรับการเรียนต่อระดับปริญญา จะช่วยให้เราได้เตรียมตัว ว่า ระดับปริญญา เค้าใช้ระดับภาษาแบบไหน การเขียนรายงานต่างๆ ต้องเขียนรูปแบบไหน ต้องใช้แบบไหนถึงจะถูกต้อง ได้เตรียมคำศัพท์ที่เราไม่เคยเจอที่ไทย หรือไม่ใช่ศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ลองทำแบบฝึกหัด ได้ฝึกการพรีเซ้นท์ การพูดหน้าชั้น (ถ้าเรียนระดับมหาลัยใช้เยอะแน่ๆทักษะนี้)
ฝึกการฟังสำเนียงหลายๆแบบจากเพื่อนต่างชาติ เพราะเวลาคุณเรียน บางครั้ง อาจารย์ที่สอนก็ไม่ใช่ชาวอเมริกันแท้ แน่นอน สำเนียงอาจารย์แต่ละชาติก็ต่างกัน จะดีกว่ามั๊ย ถ้าเราจะฝึกให้คุ้นหูก่อนจะเจอของจริง (อาจารย์เค้าไม่มานั่งสนใจ นักเรียน 1 คน ที่ฟังเค้าไม่ทันหรอกนะ) ฟังไม่ทัน แล้วยังไง สรุปไปนั่งอ่านหนังสือเองทั้งหมด เพราะเรียนในชั้นไม่เข้าใจ (แล้วจะเสียเงินมาเรียนถึงอเมริกาทำไมถ้าต้องมานั่งอ่านเองหมด)
จริงๆตามมหาวิทยาลัยก็จะมีสอนคอร์สภาษาเหมือนกันนะ สำหรับ นักเรียนที่เรียนไม่รู้เรื่อง อาจารย์ต้องไล่ให้มาลงคอร์สภาษาเพิ่ม ซึ่ง เงินที่เอามาลงคอร์สตรงนี้ ...เอาจริงๆ แพงกว่าไปลงเรียนศูนย์ภาษาโดยเฉพาะ และหลักสูตรจะเหมาะกับคนที่ค่อนข้างรู้เรื่องแล้วมากกว่าคนที่พื้นฐานไม่ดี เพราะเราจะได้เรียนภาษาอังกฤษ แบบที่คนอเมริกัน ไม่ใช่หลักสูตรที่พัฒนามาเฉพาะสำหรับชาวต่างชาติโดยตรง
ดังนั้นการเลือกเรียนภาษา จะเรียนกับศูนย์ภาษา หรือกับมหาวิทยาลัย ควรดูที่พื้นฐานเราด้วย เพราะแต่ละที่มีข้อเด่นข้อด้อยต่างกัน (อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ ข้อดีและข้อเสียในการเรียนภาษากับสถาบันของมหาวิทยาลัย )
อย่างเช่น University of Washington, Seattle Pacific University ก็มีศูนย์ภาษาเพื่อให้นักเรียนต่างชาติได้เตรียมความพร้อมในการเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย และยังให้ใช้ทรัพยากรของทางมหาวิทยาลัยเหมือนเป็นนักศึกษาเลยค่ะ เป็นเรื่องดีที่จะได้เรียนรู้การใช้ชีวิตแบบนักศึกษา รวมถึงปูพื้นฐานไปถึงคณะที่เรียนในอนาคตอีกด้วย อย่าลืมว่าถึงแม้จะสอบ TOEFL, IELTS ได้คะแนนดี แต่การเรียนที่อเมริกามันไม่ได้เหมือนในข้อสอบ ดังนั้น หากเตรียมตัวมาก่อนจะทำให้ปรับตัวกับการเรียนได้ดีขึ้น และมันจะดีกว่ามั๊ย ถ้าจะเรียนภาษาให้แน่นๆ จะได้ไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนต่อมหาวิทยาลัยในอเมริกา
อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ตาม Link ด้านล่าง
สิ่งที่คนไทยเข้าใจผิดเกี่ยวกับระบบการศึกษาที่อเมริกา (Master and PhD programs)
ประสบการณ์เรียนโทที่ Cornell University
หลังจากอ่าน กระทู้พันทิป และบทสรุปหลายข้อด้านบนจบแล้ว คุณคิดว่า คุณพร้อมจริงๆ แล้วหรือยังในการเรียนมหาวิทยาลัย ค่าเรียนที่อเมริกาค่อนข้างแพง หากกลัวเสียเวลาจะเรียนจบช้า แทนที่จะกลัวว่าจะเรียนรู้เรื่อง และทำเกรดได้ดีมั๊ย อาจจะมานั่งใจเอาตอนที่สอบเสร็จแล้วเกรดไม่ดีอย่างที่คิด (เกรดไม่ดีมีผลต่อวีซ่าด้วยนะคะ เพราะเค้าอาจจะเชิญคุณออกจากมหาวิทยาลัยได้ด้วย)
สำหรับคนที่อยากเรียนภาษาก่อนที่อเมริกา แต่ไม่รู้ว่าจะเรียนนานเท่าไหร่ดี กรณีที่พื้นฐานภาษามาค่อนข้างดี แนะนำเรียนประมาณ 6 เดือน(เพื่อให้คุ้นกับสำเนียงต่างๆด้วย) แต่ถ้าพื้นฐานไม่ดี แนะนำควรเรียนภาษา 1 ปีขึ้นไป (แล้วแต่ความตั้งใจและความเร็วในการพัฒนาการของแต่ละคน)
หวังว่าบทความนี้จะช่วยเป็นแนวทางให้หลายๆคนเตรียมความพร้อมก่อนเรียนระดับมหาวิทยาลัยได้นะคะ
เรื่องโดย Ice KhonThaiAmerica
เรียบเรียง โดย Admin Lin KhonThaiAmerica